วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การตอบสนองต่อช่วงแสง



 การตอบสนองต่อช่วงแสง ( Photoperiodism ) หมายถึง  การตอบสนองของพืชต่อช่วงเวลาที่พืชรับแสงสว่าง  ได้แก่  ความยาวในช่วงเวลากลางวัน ( day  length )   อิทธิพลของการตอบสนองช่วงแสงต่อพืช  คือการชักนำให้พืชมีการออกดอก  ( flowering ) และการออกดอกนี้ขึ้นอยู่กับความนานของช่วงเวลากลางวันและขึ้นอยู่กับฤดูกาลอีกด้วย  ปัจจุบันได้มีผู้ศึกษาทดลองสกัดสารที่เกี่ยวข้องกับการชักนำการตอบสนองของพืชต่อแสงซึ่งเป็นสารสี  ( pigment ) ที่ไวต่อแสง  เรียกว่า    phytochrome
         
         ความยาวของช่วงกลางวันที่มีผลต่อการออกดอกของพืชเรียกว่าช่วงวันวิกฤติ (Critical day length) ส่วนใหญ่พืชที่ตอบสนองต่อช่วงวันมักเป็นพืชในเขตอบอุ่นแบ่งพืชตามการตอบสนองต่อช่วงวันออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

        1 พืชวันสั้น  เป็นพืชผักที่มีความต้องการช่วงแสงในวันหนึ่งๆสั้นกว่าช่วงวันวิกฤติ  จึงจะออกดอก  โดยช่วงวันวิกฤตินี้จะมีค่าแตกต่างกันไปในแต่ละพืชแต่ละชนิดซึ่งพืชส่วนใหญ่จะมีช่วงวันวิกฤติ  12-14 ชั่วโมง พืชวันสั้นได้แก่  กะหล่ำปม  กะหล่ำดอก  กะหล่ำดาว  ผักกาดหอม  เป็นต้น
    
       2 พืชวันยาว เป็นพืชผักที่ต้องการช่วงเวลาแสงในวันหนึ่ง ๆ ยาวกว่าช่วงวันวิกฤติเป็นเวลา 14-16 ชั่วโมง  ได้แก่  ผักโขม  เป็นต้น

       3 พืชวันที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อช่วงแสง เป็นพืชผักที่สามารถเจริญได้ดีไม่ว่าจะมีช่วงแสงสั้นหรือยาว เมื่อพืชเหล่านี้ถึงกำหนดการออกดอกก็จะออกดอก  ได้แก่  มะเขือเทศ  ข้าว ข้าวโพด  เป็นต้น




ภาพแสดงอิทธิพลของช่วงแสงต่อการออกดอกของพืช 3 ชนิด
ที่มา http://158.108.17.142/learn/student.php?lesson=lesson9&lesson_id=9&action=story_2_2&step=1



อ้างอิง

http://www.higreenfarm.com/hydrowork/index.php?option=com_content&taskid=178
http://158.108.17.142/learn/student.phplesson=lesson9&lesson_id=9&action=story_22  &step=1
http://www.ces.kmutt.ac.th/cssc2012/cssc_classroom/Solarenergy/Assignment/SolEn54/SolEn54_Doc/10_Plant%20and%20Solar.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น